....hello เพื่อนพ้องน้องพี่ชาววิจัยและประเมินผลการศึกษา....

ยินดีต้อนรับค่ะ

กรองทองค่ะ นักศึกษาสาขาวิจัยและประเมินผลรุ่น 5 ค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา ดิฉันจะนำท่านเข้าสู่สาระการเรียนรู้ต่างๆและเว็ปที่น่าสนใจ รวมถึงแนะนำเพื่อนพ้องน้องพี่สาขาวิจัยอีกหลายท่านให้รู้จักกันในบล็กนี้ เชิญท่านค้นพบและเรียนรู้ไปกับเราได้เลยค่ะ

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 4 สื่อการสอน
........สื่อการสอน........ความหมายของสื่อการสอนสื่อการสอน หมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการใดๆ ที่ครูนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน ให้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือตัวเชื่อมในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ ไปสู่ผู้เรียน..........คุณค่าของสื่อการสอนสื่อการสอนแต่ละชนิดมีคุณค่าในด้านต่างๆ ดั้งนี้1. คุณค่าด้านวิชาการ ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 52. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ทำให้การเรียนเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น.........คุณสมบัติของสื่อการสอนสื่อการสอนแต่ละชนิดมีคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการ คือ1. สามารถจับยึดประสบการณ์ กิจกรรม และการกระทำที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว2. สามารถจัดแจง จัดการและปรับปรุงแต่งประสบการณ์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน3. สามารถแจกจ่ายและขยายจำนวนของสื่ออกเป็นหลายฉบับ เพื่อเผยแพร่สู่ผู้เรียนจำนวนมากและสามารถใช้ซ้ำๆกันได้.........ประเภทของสื่อการสอน1. การจำแนกตามคุณสมบัติของสื่อ แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภท1.1 วัสดุ เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา1.2 อุปกรณ์ เป็นสื่อใหญ่ หรือสื่อหนัก1.3 วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม เป็นสื่อที่ความหมายกว้างครอบคลุมสื่ออื่นๆ2. การจำแนกตามแบบของสื่อ2.1 สิ่งพิมพ์ เป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาในรูปของตัวหนังสือ2.2 วัสดุกราฟิก เป็นสื่อที่แสดงเนื้อหาด้วยข้อความและรูปภาพ2.3 วัสดุและเครื่องฉาย เป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาข้อความและรูปภาพลงในวัสดุฉาย2.4 วัสดุถ่ายทอดเสียง เป็นสื่อที่นำเสนอเนื้อหาด้วยเสียง3. จำแนกตามประสบการณ์ เรียงตามลำดับจากประสบการณ์ที่ง่ายไปยาก 10 ขั้นเรียกว่ากรวยประสบการณ์ (cone of experiences) ดังนี้ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรงขั้นที่ 2 ประสบการณ์จำลองขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการขั้นที่ 4 การสาธิขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ขั้นที่ 6 นิทัศการขั้นที่ 7 โทรทัศน์และภาพยนตร์ขั้นที่ 8 ภาพนิ่ง, วิทยุและการบันทึกเสียงขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์ขั้นที่ 10 วจนสัญลักษณ์.........หลักการเลือกและใช้สื่อการสอน1. การเลือก ควรพิจารณารายละเอียดของการเลือกใช้สื่อตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้1.1 การเลือกใช้สื่อตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้1.2 การเลือกใช้สื่อตามระดับคุณค่าของสื่อ1.3 การเลือกใช้สื่อตามขนาดของกลุ่มผู้เรียน2. การเตรียม การใช้สื่อการสอนมักจะกระทำหลังจากที่เลือกสื่อได้แล้2.1 การเตรียมครุ ได้แก่ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม2.2 การเตรียมผู้เรียน ได้แก่ จัดให้ผู้เรียนนั่งให้เหมาะสมกับการใช้สื่อแต่ละประเภท2.3 การเตรียมชั้นเรียน ได้แก่ จัดโต๊ะเก้าอี้ของผู้เรียนให้เพียงพอ3. ขั้นการใช้หรือการแสดง เป็นการานำสื่อที่ได้เลือกและเตรียมไว้แล้วมาใช้ประกอบการสอนต่อหน้าผู้เรียน4. ขั้นติดตามผล เป็นการติดตามเพื่อประเมินผลคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อ การเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
บทที่ 3 กระบวนการสื่อสาร
.........ความหมายของการสื่อสารการสื่อสาร หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลต่างๆ หรือการถ่ายทอดความรู้ เนื้อหาสาระ ความรู้สึก เจตคติ ทักษะจากผู้ส่งไปยังผู้รับ..........องค์ประกอบและกระบวนการสื่อสาร อธิบายได้ดังนี้1. ผู้ส่ง หมายถึง แหล่งกำเนิดเนื้อหาสาระซึ่งอาจจะเป็นองค์กร บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่มีจุดมุ่งหมายหรือเจตนาจะส่งเนื้อหาสาระไปยังผู้รับ2. เนื้อหาสาระ หมายถึง เนื้อหาสาระ ความรู้สึกนึกคิด เจตคติ ทักษะ ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในแหล่งกำเนิดหรือตัวผู้ส่งเอง3. สื่อหรือช่องทาง หมายถึง ช่องทางต่างๆ ที่ใช้ในการส่งและรับรู้เนื้อหาสาระ ได้แก่ ตา หูจมูก ลิ้น และผิวกาย4. ผู้รับ หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานที่รับรู้เนื้อหาสาระจากแหล่งกำเนิดหรือผู้ส่ง..........หน้าที่ของกระบวนการสื่อสาร อาจจำแนกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่1. การสื่อสารในฐานะเครื่องมือให้ได้สิ่งที่ต้องการ2. การสื่อสารเพื่อควบคุมสั่งการ3. การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์4. การสื่อสารส่วนบุคคล5. การสื่อสารเพื่อเสาะแสวงหาคำตอบ6. การสื่อสารเพื่อสร้างจินตนาการ...........รูปแบบของการสื่อสาร จำแนกได้ดังนี้1. การจำแนกตามคุณลักษณะของการสื่อสาร แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ1.1 การสื่อสารด้วยภาษาพูด1.2 การสื่อสารด้วยภาษาท่าทางหรือสัญญาณ1.3 การสื่อสารด้วยภาษาภาพ2. จำแนกตามปฏิสัมพันธ์ของผู้รับและผู้ส่ง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ2.1 การสื่อสารทางตรง2.2 การสื่อสารทางอ้อม3. จำแนกตามพฤติกรรมในการตอบโต้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ3.1 การสื่อสารทางเดียว3.2 การสื่อสารสองทาง4. จำแนกตามจำนวนของผู้ร่วมสื่อสาร แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ4.1 การสื่อสารในตนเอง4.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล4.3 การสื่อสารแบบกลุ่มบุคคล4.4 การสื่อสารมวลชน..........อุปสรรคในการสื่อสารการสื่อสารอาจล้มเหลวได้เนื่องจากอุปสรรคด้านต่างๆ ต่อไปนี้1. ผู้ส่งสารขาดความสามารถและความตั้งใจในการเข้ารหัส2. ความบกพร่องของสื่อหรือช่องทาง3. ผู้รับสารขาดความรู้ความชำนาญเรื่องที่จะรับหรือไม่ตั้งใจรับ4. อุปสรรคจากสิ่งรบกวน5. สารหรือเนื้อหาสาระมีความยาวไม่เหมาะสม6. ผู้ส่งและผู้รับมีความแตกต่างในด้านภาษา วัฒนธรรม และสังคม..........การสื่อสารในการเรียนการาสอน1. กระบวนการสื่อสารในการเรียนการสอน มุจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์2. ลักษณะการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน เป็นการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถประสบการณ์ ตลอดจนการอบรมสั่งสอน3. การปรับใช้การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนควรใช้ภาษา สื่อสารสองทางให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อประเมินว่าการถ่ายทอดเนื้อหาสาระไปสู่ผู้เรียนได้ผลเป็นอย่างไร4. ความล้มเหลวของการสื่อสารในกระบวนการเรียนการสอน อาจเกิดจากหลายสาเหตุหลายประการดังนี้ ครูไม่บอกจุดประสงค์ในการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนในการเรียนรู้ในเนื้อหาบทเรียนนั้นๆ
บทที่ 3 กระบวนการสื่อสาร
.........ความหมายของการสื่อสารการสื่อสาร หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลต่างๆ หรือการถ่ายทอดความรู้ เนื้อหาสาระ ความรู้สึก เจตคติ ทักษะจากผู้ส่งไปยังผู้รับ..........องค์ประกอบและกระบวนการสื่อสาร อธิบายได้ดังนี้1. ผู้ส่ง หมายถึง แหล่งกำเนิดเนื้อหาสาระซึ่งอาจจะเป็นองค์กร บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่มีจุดมุ่งหมายหรือเจตนาจะส่งเนื้อหาสาระไปยังผู้รับ2. เนื้อหาสาระ หมายถึง เนื้อหาสาระ ความรู้สึกนึกคิด เจตคติ ทักษะ ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในแหล่งกำเนิดหรือตัวผู้ส่งเอง3. สื่อหรือช่องทาง หมายถึง ช่องทางต่างๆ ที่ใช้ในการส่งและรับรู้เนื้อหาสาระ ได้แก่ ตา หูจมูก ลิ้น และผิวกาย4. ผู้รับ หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานที่รับรู้เนื้อหาสาระจากแหล่งกำเนิดหรือผู้ส่ง..........หน้าที่ของกระบวนการสื่อสาร อาจจำแนกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่1. การสื่อสารในฐานะเครื่องมือให้ได้สิ่งที่ต้องการ2. การสื่อสารเพื่อควบคุมสั่งการ3. การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์4. การสื่อสารส่วนบุคคล5. การสื่อสารเพื่อเสาะแสวงหาคำตอบ6. การสื่อสารเพื่อสร้างจินตนาการ...........รูปแบบของการสื่อสาร จำแนกได้ดังนี้1. การจำแนกตามคุณลักษณะของการสื่อสาร แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ1.1 การสื่อสารด้วยภาษาพูด1.2 การสื่อสารด้วยภาษาท่าทางหรือสัญญาณ1.3 การสื่อสารด้วยภาษาภาพ2. จำแนกตามปฏิสัมพันธ์ของผู้รับและผู้ส่ง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ2.1 การสื่อสารทางตรง2.2 การสื่อสารทางอ้อม3. จำแนกตามพฤติกรรมในการตอบโต้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ3.1 การสื่อสารทางเดียว3.2 การสื่อสารสองทาง4. จำแนกตามจำนวนของผู้ร่วมสื่อสาร แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ4.1 การสื่อสารในตนเอง4.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล4.3 การสื่อสารแบบกลุ่มบุคคล4.4 การสื่อสารมวลชน..........อุปสรรคในการสื่อสารการสื่อสารอาจล้มเหลวได้เนื่องจากอุปสรรคด้านต่างๆ ต่อไปนี้1. ผู้ส่งสารขาดความสามารถและความตั้งใจในการเข้ารหัส2. ความบกพร่องของสื่อหรือช่องทาง3. ผู้รับสารขาดความรู้ความชำนาญเรื่องที่จะรับหรือไม่ตั้งใจรับ4. อุปสรรคจากสิ่งรบกวน5. สารหรือเนื้อหาสาระมีความยาวไม่เหมาะสม6. ผู้ส่งและผู้รับมีความแตกต่างในด้านภาษา วัฒนธรรม และสังคม..........การสื่อสารในการเรียนการาสอน1. กระบวนการสื่อสารในการเรียนการสอน มุจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์2. ลักษณะการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน เป็นการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถประสบการณ์ ตลอดจนการอบรมสั่งสอน3. การปรับใช้การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนควรใช้ภาษา สื่อสารสองทางให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อประเมินว่าการถ่ายทอดเนื้อหาสาระไปสู่ผู้เรียนได้ผลเป็นอย่างไร4. ความล้มเหลวของการสื่อสารในกระบวนการเรียนการสอน อาจเกิดจากหลายสาเหตุหลายประการดังนี้ ครูไม่บอกจุดประสงค์ในการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนในการเรียนรู้ในเนื้อหาบทเรียนนั้นๆ
บทที่ 2 วิธีระบบ
.......ความหมายของวิธีระบบระบบ คือ ภาพรวมของโครงการหรือขวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงสร้างหรือขบวนการนั้น........องค์ประกอบของระบบมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ1. ข้อมูลป้อนเข้า (input) ได้แก่ วัตถุดิบ ข้อมูลดิบ ปัญหา ความต้องการ วัตถุประสงค์ ข้อกำหนด กฎเกณฑ์2. กระบวนการ (process) ได้แก่ วิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอนซึ่งอาจเป็นวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีก็ได้3. ผลลัพธ์ (output) ได้แก่ ผลงานท ได้มาจากข้อมูลป้อนเข้าและกระบวนการซึ่งจะนำไปประเมินผล4. ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ได้แก่ ผลการประเมินการทำงานของระบบซึ่งสาสมารถประเมินย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน......ขั้นตอนการจัดระบบเป็นการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน โดยการรวบรวมข้อมูล และทรัพยากร วิเคราะห์ปัญหา และรวบรวมวิธีการแก้ปัญหา ประเมินผลลัพธ์ที่ได้ ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น.........ประกอบด้วยขั้นตอน 4 ขั้น1. ขั้นการวิเคราะห์ระบบ (system analysis) แบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อย คือ1.1 วิเคราะห์แนวทางปฏิบัติงาน1.2 วิเคราะห์หน้าที่1.3 วิเคราะห์งาน1.4 วิเคราะห์วิธีการและสื่อ2. ขั้นการสังเคราะห์ระบบ (system synthesis) มีขั้นย่อยดังนี้2.1 การเลือกวิธีการหรือกลวิธี2.2 การแก้ปัญหา2.3 การประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน3. ขั้นการสร้างแบบจำลอง (construct a model)วิธีการเขียนแบบจำลอง อาจเขียนได้หลายแบบ เช่น แบบจำลองแนวนอน แบบจำลองแนวตั้ง แบบจำลองแนวนอนผสมแนวตั้ง แบบจำลองวงกลมหรือวงรี แบบจำลองกึ่งแผนกึ่งรูปภาพ แบบจำลองเชิง คณิตศาสตร์ เป็นต้น4. ขั้นการจำลองสถานการณ์ (systematical simulation) เป็นการทดลองใช้ระบบตามแบบจำลองที่สร้างขึ้นในสภาพการณ์เลียนแบบสถานการณ์จริง.........วิธีระบบในการเรียนการสอน1. ระบบการเรียนการสอนของเกอร์ลาช แบะอีลี ประกอบด้วย 10 ขั้นตอน1.1 การกำหนดจุดมุ่งหมาย1.2 การกำหนดเนื้อหา1.3 การประเมินพฤติกรรมเบื้องต้น1.4 การกำหนดกลยุทธวิธีการสอน1.5 การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน1.6 การกำหนดเวลาเรียน1.7 การจัดสถานที่เรียน1.8 การเลือกสรรทรัพยากร1.9 การประเมิน1.10 การวิเคราะห์ผลย้อนกลับ2. ระบบการผลิตชุดการสอนแผนจุฬา มีขั้นตอนสำคัญ 10 ขั้นตอน2.1 กำหนดหมวดหมู่เนื้อหาและประสบการณ์2.2 กำหนดหน่วยการสอน2.3 กำหนดหัวเรื่อง2.4 กำหนดมโนทัศน์และหลักการ2.5 กำหนดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับหัวเรื่อง2.6 กำหนดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม2.7 กำหนดแบบประเมินผล2.8 เลือกและผลิตสื่อการสอน2.9 หาประสิทธิภาพชุดการสอน2.10 การใช้ชุดการสอน3. ระบบการสอนตามแนวพุทธวิธี สรุปได้ดังนี้3.1 ขั้นนำ เป็นการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนเพื่อการสร้างเจตคติที่ดีต่อครู เนื้อหาบทเรียน นอกจากนี้ยังเป็นขั้นการเสนอสิ่งเร้า และแรงจูงใจ3.2 ขั้นสอน เป็นการนำสถานการณ์ ปัญหา และหลักการในการแก้ปัญหามาฝึกทักษะในการคิด และการปฏิบัติ3.3 ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียน เพื่อให้ได้ประเด็นและแนวคิดที่ชัดเจน........วิธาระบบกับสื่อการเรียนการสอน1. การผลิตสื่อ เป็นขั้นตอนการสร้างสรรค์วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการให้มีคุณภาพดี2. การใช้สื่อ เป็นขั้นการแสดงสื่อในขณะทำการสอนหรือถ่ายทอดเนื้อหาให้ผู้เรียนมีประสบการณ์เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์3. การเก็บรักษาสื่อ จะช่วยให้การค้นหาหรือหยิบมาใช้ได้สะดวกรวดเร็ว ช่วยในการตรวจสอบได้ง่าย.........รูปแบบจำลองการผลิตและการใช้สื่อแบบ The Assure Modelมีคำอธิบายดังต่อไปนี้1. การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน ผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถในการรับรู้ และเรียนแตกต่างกัน การใช้สื่อการเรียน การสอนให้ได้ผลดี ต้องคำนึงถึงธรรมชาติของผู้เรียน เป็นสำคัญ เช่น วัย เพศ ระดับการศึกษา สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ความเชื่ 2. การกำหนดวัตถุประสงค์ แต่ละเนื้อหาบทเรียนควรทำให้ครอบคลุมการเรียนด้านต่างๆ2.1 ด้านความรู้ความเข้าใจ2.2 ด้านจิตใจ2.3 ด้านทักษะหรือความชำนาญ3. การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อที่เหมาะสมมาใช้ประกอบการเรียนการสอน สามารถทำได้ 3 วิธี คือ3.1 การเลือก3.2 การดัดแปลง3.3 การผลิต4. การใช้สื่อ เป็นขั้นการแสดงสื่อประกอบการเรียนการสอนจริง ซึ่งครูผื้สอนต้องใช้เทคนิคและหลักการให้ดีที่สุด5. การกำหนดการตอบสนองต่อสื่อและเนื้อหาบทเรียน6. การประเมิน ใช้สื่อการเรียนการสอนสามารถทำได้ 3 ลักษณะ คือ6.1 การประเมินกระบวนการสอน6.2 การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน6.3 การประเมินสื่อและวิธีการสอน
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
.......ความหมายของเทคโนโลยีเทคโนโลยี (technology) หมายถึง วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม........หลักการใช้เทคโนโลยี1. ประสิทธิภาพของงาน (efficiency) ช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายรวดเร็วตรวจสอบได้2. ประสิทธิผล (productivity) ช่วยให้งานได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากกว่าปกติที่ไม่ใช้เทคโนโลยี3. ประหยัด (economy) ช่วยประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานเพื่อการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าทุนที่ลงไป.......เทคโนโลยีกับงานสาขาต่างๆ-เทคโนโลยีทางการทหาร หมายถึง วิธีการนำเอาความรู้มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงานทางการทหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ-เทคโนโลยีทางการแพทย์ หมายถึง วิธีการในการนำเอาความรู้แนวคิดมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงานทางการแพทย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ......ความหมายของการศึกษาการศึกษา (education) มีความหมายกว้างขวางครอบคลุมการพัฒนา การส่งเสริมมนุษย์และสังคมให้มี่ความเจริญงอกงามในทุกด้านทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง รวมเอาแหล่งการเรียนรู้ทั้งหลายที่ออกแบบเลือกหรือนำมาใช้เพื่อมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายที่ผู้เรียนประสบผลสำเร็จตามต้องการ.........ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา1. ทำให้มีการเรียนการสอน การจัดการศึกษามีความหมายมากขึ้น2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้3. สามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์4. ใช้ให้การจัดการศึกษามีพลังมากขึ้น5. ทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม6. ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา.......ความหมายของเทคโนโลยีการสอนเทคโนโลยีการสอนเป็นภาพของการแสวงหาแนวทาง และวิธีปฏิบัติเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น......การเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน- เทคโนโลยีการศึกษา เป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อนเกี่ยวข้องกับบุคคล วิธีการ แนวคิด เครื่องมือ และองค์กร-เทคโนโลยีการสอน เป็นองค์ประกอบย่อยที่สำคัญส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษา เป็นกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา และการวางแผน.......การเปรียบเทียบขอบเขตของเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอนขอบเขตของเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน มีความแตกต่างกันในด้านบทบาทหน้าที่ในการจัดการ การพัฒนา ทรัพยากรการเรียนรู้ และกลุ่มเป้าหมาย........ความหมายของนวัตกรรมนวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ๆ ที่ผ่านการพิสูจน์แล้วนำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด........ความหมายของนวัตกรรมการศึกษานวัตกรรมการศึกษา หมายถึง ความคิดหรือวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการพิสูจน์ทดสอบจนเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ นำมาใช้ในการส่งเสริม ปรับปรุงให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ.........ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งเป็นนวัตกรรม ได้ดังนี้1. เป็นความคิดหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจนำมาทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนเพื่อปรับปรุงงานเต็มที่เคยมีมาก่อนให้ดีขึ้น2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจน4. ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ต้องมีความเป็นอิสระในตัวมันเองเสมอจะถูกนำมาใช้หรือไม่ก็ได้........ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม1. ขั้นการเกิดปัญหาหรือความต้องการและการรวบรวมข้อมูล2. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น3. ขั้นการพัฒนาหรือทดลอง4. ขั้นการนำไปใช้จริง.........ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป้าหมายที่แน่นอนเป็นอย่างเดียวกัน คือ ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ.........สาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ ดังนี้1. การเพิ่มจำนวนประชากร2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม3. ความก้าวหน้าด้านวิทยาการใหม่ๆ........ความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนการสอนเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาจึงมีบทบาทต่อการเรียนการสอน ดังนี้1. ช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางและเข้าใจถูกต้องชัดเจนมากขึ้น2. สนองตอบเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง3. ทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพสูงขึ้น4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ5. ทำให้กระบวนการเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว6. ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรมากขึ้น
กระดานข่าว

ความหมายของการออกแบบ
.....ความหมายของการออกแบบ.....1. การออกแบบ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน ความสำคัญของการออกแบบ มีอยู่หลายประการ กล่าวคือ2. การออกแบบ หมายถึง การรู้จักวางแผนจัดตั้งขั้นตอน และรู้จักเลือกใช้วัสดุวิธีการเพื่อทำตามที่ต้องการนั้น โดยให้สอดคล้องกับลักษณะรูปแบบและคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดตามความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา เช่น เราจะทำเก้าอี้นั่งซักตัวจะต้องวางแผนไว้เป็นขั้นตอนโดยต้องเริ่มเลือกวัสดุที่จะใช้ทำเก้าอี้นั้นจะใช้วัสดุอะไรที่เหมาะสม วิธีการต่อยึดนั้นควรใช้กาว ตะปูนอต หรือใช้ข้อต่อแบบใด คำนวณสัดส่วนการใช้งานให้เหมาะสม ความแข็งแรงของเก้าอี้นั่งมากน้อยเพียงใด สีสันควรใช้สีอะไรจึงจะสวยงาม และทนทานกับการใช้งาน เป็นต้น3. การออกแบบ หมายถึง การปรับปรุงแบบ ผลงานหรือสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสมมีความแปลกใหม่ขึ้น เช่น เก้าอี้เราทำขึ้นมาใช้ซึ่งเมื่อใช้ไปนานๆก็เกิดความเบื่อหน่ายในรูปทรง เราก็จัดการปรับปรุงให้เป็น รูปงแบบใหม่ให้สวยกว่าเดิม ทั้งความเหมาะสม ความสะดวกสบายในการใช้งานยังคงเหมือนเดิม หรือดีกว่าเดิม เป็นต้น4. การออกแบบ หมายถึง การรวบรวมหรือการจัดองค์ประกอบทั้งที่เป็น 2 มิติ และ 3 มิติ เข้าด้วยกันอย่างมีหลักเกณฑ์ การนำองค์ประกอบของการออกแบบมาจัดรวมกันนั้น ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของการออกแบบ เป็นศิลปของมนุษย์เนื่องจากเป็นการสร้างค่านิยมทางความงาม และสนองคุณประโยชน์ทางกายภาพให้แก่มนุษย์5. การออกแบบ หมายถึง กระบวนการที่สนองความต้องการในสิ่งใหม่ๆของมนุษย์ซึ่งส่วนใหญ่เพื่อให้ชีวิตอยู่รอด และมีความสะดวกสบายมาก

บล็อกคืออะไร ?บล็อกตืออะไร?.....Blog เป็นเว็บไซต์พันธุ์ใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงมากจากสังคมทั่วโลก เพราะบล็อกมีคุณสมบัติพิเศษคือมีรูปแบบง่ายๆไม่สลับซับซ้อนแต่อย่างใด ผู้สร้างบล็อกไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์มากนัก ในการสร้างสรรค์และผู้ชมสามารถการเข้าเยี่ยมชมได้อย่างง่ายดาย ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถประยุกต์กับงานต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางบล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก) = BLOG ส่วนเจ้าของบล็อกเราเรียกว่าBlogger ซี่งสามารถสร้างสรรค์ บันทึก และแก้ไขเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆบางคนมองว่าการเขียนบล็อก ก็คือการเขียนไดอารี่ออนไลน์ แท้ที่จริง ไดอารี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบล็อกเท่านั้น คุณเปิดบล็อกขึ้นมาไม่ใช่เพื่อเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวันอย่างเดียว แต่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น
เขียนโดย krong ที่ 5:24 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น

บทที่5

.....สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ.....ประเภทของสื่อการเรียนการสอน.....สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ.....1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ.....2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ

......3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติ การฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง

......4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)

..........สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามประสบการณ์ ...............1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง....... 2. ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตราย ไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า.......3. ประสบการณ์นาฏการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น.......4. การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้ อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด.......5. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง.......6. นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง.......7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟังอย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์.......8. ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย.......9. ทัศนสัญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิ แผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น.......10.วจนสัญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตาม เราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา.........สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามคุณสมบัติ.................Wilbure Young ได้จัดแบ่งไว้ดังนี้1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี) แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ2. โสตวัสดุ (Audio Materisls ) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายสไลด์5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities )เช่น นิทรรศการ การสาธิต ทัศนศึกษา ฯลฯสื่อการเรียนการสอนจำแนกตามรูปแบบ(Form)Louis Shores ได้แบ่งประเภทสื่อการสอนตามแบบไว้ ดังนี้1. สิ่งตีพิมพ์ (Printed Materials) เช่น หนังสือแบบเรียน เอกสารการสอน ฯลฯ2 วัสดุกกราฟิก เช่น แผนภูมิ ( Charts) แผนสถิติ (Graph) แผนภาพ (Diagram) ฯลฯ3. วัสดุฉายและเครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง.......สื่อการเรียนการสอนตามลักษณะและการใช้........1. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware)2. วัสดุ (Software)3. เทคนิคหรือวิธีการ (Techinques or Methods)..........คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน.........1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่....1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่างๆ....1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง....1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน....1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น....1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่....2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น....2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น....2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น....2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง....2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น....2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง....2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้....2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้....2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน....2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา....2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล.........คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนการเรียนการสอน.........1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน 2.ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม 4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม