....hello เพื่อนพ้องน้องพี่ชาววิจัยและประเมินผลการศึกษา....

ยินดีต้อนรับค่ะ

กรองทองค่ะ นักศึกษาสาขาวิจัยและประเมินผลรุ่น 5 ค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา ดิฉันจะนำท่านเข้าสู่สาระการเรียนรู้ต่างๆและเว็ปที่น่าสนใจ รวมถึงแนะนำเพื่อนพ้องน้องพี่สาขาวิจัยอีกหลายท่านให้รู้จักกันในบล็กนี้ เชิญท่านค้นพบและเรียนรู้ไปกับเราได้เลยค่ะ

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 3 กระบวนการสื่อสาร
.........ความหมายของการสื่อสารการสื่อสาร หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลต่างๆ หรือการถ่ายทอดความรู้ เนื้อหาสาระ ความรู้สึก เจตคติ ทักษะจากผู้ส่งไปยังผู้รับ..........องค์ประกอบและกระบวนการสื่อสาร อธิบายได้ดังนี้1. ผู้ส่ง หมายถึง แหล่งกำเนิดเนื้อหาสาระซึ่งอาจจะเป็นองค์กร บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่มีจุดมุ่งหมายหรือเจตนาจะส่งเนื้อหาสาระไปยังผู้รับ2. เนื้อหาสาระ หมายถึง เนื้อหาสาระ ความรู้สึกนึกคิด เจตคติ ทักษะ ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในแหล่งกำเนิดหรือตัวผู้ส่งเอง3. สื่อหรือช่องทาง หมายถึง ช่องทางต่างๆ ที่ใช้ในการส่งและรับรู้เนื้อหาสาระ ได้แก่ ตา หูจมูก ลิ้น และผิวกาย4. ผู้รับ หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานที่รับรู้เนื้อหาสาระจากแหล่งกำเนิดหรือผู้ส่ง..........หน้าที่ของกระบวนการสื่อสาร อาจจำแนกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่1. การสื่อสารในฐานะเครื่องมือให้ได้สิ่งที่ต้องการ2. การสื่อสารเพื่อควบคุมสั่งการ3. การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์4. การสื่อสารส่วนบุคคล5. การสื่อสารเพื่อเสาะแสวงหาคำตอบ6. การสื่อสารเพื่อสร้างจินตนาการ...........รูปแบบของการสื่อสาร จำแนกได้ดังนี้1. การจำแนกตามคุณลักษณะของการสื่อสาร แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ1.1 การสื่อสารด้วยภาษาพูด1.2 การสื่อสารด้วยภาษาท่าทางหรือสัญญาณ1.3 การสื่อสารด้วยภาษาภาพ2. จำแนกตามปฏิสัมพันธ์ของผู้รับและผู้ส่ง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ2.1 การสื่อสารทางตรง2.2 การสื่อสารทางอ้อม3. จำแนกตามพฤติกรรมในการตอบโต้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ3.1 การสื่อสารทางเดียว3.2 การสื่อสารสองทาง4. จำแนกตามจำนวนของผู้ร่วมสื่อสาร แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ4.1 การสื่อสารในตนเอง4.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล4.3 การสื่อสารแบบกลุ่มบุคคล4.4 การสื่อสารมวลชน..........อุปสรรคในการสื่อสารการสื่อสารอาจล้มเหลวได้เนื่องจากอุปสรรคด้านต่างๆ ต่อไปนี้1. ผู้ส่งสารขาดความสามารถและความตั้งใจในการเข้ารหัส2. ความบกพร่องของสื่อหรือช่องทาง3. ผู้รับสารขาดความรู้ความชำนาญเรื่องที่จะรับหรือไม่ตั้งใจรับ4. อุปสรรคจากสิ่งรบกวน5. สารหรือเนื้อหาสาระมีความยาวไม่เหมาะสม6. ผู้ส่งและผู้รับมีความแตกต่างในด้านภาษา วัฒนธรรม และสังคม..........การสื่อสารในการเรียนการาสอน1. กระบวนการสื่อสารในการเรียนการสอน มุจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์2. ลักษณะการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน เป็นการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถประสบการณ์ ตลอดจนการอบรมสั่งสอน3. การปรับใช้การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนควรใช้ภาษา สื่อสารสองทางให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อประเมินว่าการถ่ายทอดเนื้อหาสาระไปสู่ผู้เรียนได้ผลเป็นอย่างไร4. ความล้มเหลวของการสื่อสารในกระบวนการเรียนการสอน อาจเกิดจากหลายสาเหตุหลายประการดังนี้ ครูไม่บอกจุดประสงค์ในการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนในการเรียนรู้ในเนื้อหาบทเรียนนั้นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่5

.....สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ.....ประเภทของสื่อการเรียนการสอน.....สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ.....1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ.....2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ

......3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติ การฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง

......4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)

..........สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามประสบการณ์ ...............1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง....... 2. ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตราย ไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า.......3. ประสบการณ์นาฏการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น.......4. การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้ อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด.......5. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง.......6. นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง.......7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟังอย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์.......8. ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย.......9. ทัศนสัญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิ แผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น.......10.วจนสัญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตาม เราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา.........สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามคุณสมบัติ.................Wilbure Young ได้จัดแบ่งไว้ดังนี้1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี) แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ2. โสตวัสดุ (Audio Materisls ) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายสไลด์5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities )เช่น นิทรรศการ การสาธิต ทัศนศึกษา ฯลฯสื่อการเรียนการสอนจำแนกตามรูปแบบ(Form)Louis Shores ได้แบ่งประเภทสื่อการสอนตามแบบไว้ ดังนี้1. สิ่งตีพิมพ์ (Printed Materials) เช่น หนังสือแบบเรียน เอกสารการสอน ฯลฯ2 วัสดุกกราฟิก เช่น แผนภูมิ ( Charts) แผนสถิติ (Graph) แผนภาพ (Diagram) ฯลฯ3. วัสดุฉายและเครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง.......สื่อการเรียนการสอนตามลักษณะและการใช้........1. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware)2. วัสดุ (Software)3. เทคนิคหรือวิธีการ (Techinques or Methods)..........คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน.........1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่....1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่างๆ....1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง....1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน....1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น....1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่....2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น....2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น....2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น....2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง....2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น....2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง....2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้....2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้....2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน....2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา....2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล.........คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนการเรียนการสอน.........1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน 2.ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม 4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม